1.1  ผู้บริจาคโลหิตต้องมีอายุ 17- 70 ปี (อายุ 17 ปีบริบูรณ์ ต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครอง)

1.2 บริจาคโลหิตครั้งแรก อายุไม่เกิน 60 ปี

1.3  ผู้บริจาคที่มีอายุ 60-65 ปี ต้องเป็นผู้บริจาคประจำ บริจาคได้ทุก 3 เดือน  ได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ หน่วยเคลื่อนที่ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 

1.4 ผู้บริจาคที่มีอายุ 65-70 ปี ต้องเป็นผู้บริจาคประจำ บริจาคได้ทุก 6 เดือน  แต่ไม่รับบริจาคในหน่วยเคลื่อนที่ 

          ผู้บริจาคโลหิตมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ไม่มีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น อาการอ่อนเพลียจากการอดนอน อาการมึนเมาจากการดื่มแอลกอฮอล์หรือสารอื่นๆ

          การนอนหลับมีความสำคัญต่อสุขภาพ แต่ไม่จำเป็นต้องนอนถึง 8 ชั่วโมง ขอเพียงนอนได้อย่างเพียงพอและมีคุณภาพ อย่างน้อย 5-6 ชั่วโมง ตื่นมารู้สึกสดชื่น ไม่ผิดไปจากกิจวัตรเดิม และสามารถทำงานได้อย่างปกติ 

          เนื่องจากอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู จะทำให้พลาสมาของผู้บริจาคโลหิตมีสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปให้ผู้ป่วยได้ ผู้บริจาคโลหิตจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ก่อนบริจาคโลหิตอย่างน้อย 6 ชั่วโมง (ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าให้งดอาหาร)

6.1 เบาหวาน หากควบคุมได้ด้วยการรับประทานยา ไม่มีการฉีดยาอินซูลิน และไม่มีปัญหาโรคแทรกซ้อน สามารถบริจาคโลหิตได้ 

6.2 ความดันโลหิตสูง สามารถบริจาคโลหิตได้ หากควบคุมระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด (systolic ไม่เกิน 160 มม.ปรอท diastolic ไม่เกิน 100 มม.ปรอท) และไม่มีภาวะแทรกซ้อน

6.3 ไขมันในเลือดสูง สามารถบริจาคโลหิตได้ ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ

6.4 Hyperthyroid สามารถบริจาคโลหิตได้ ถ้ามีระดับฮอร์โมนไทรอยด์กลับสู่ปกติโดยแพทย์ให้หยุดยารักษา อย่างน้อย 2 ปี (ทั้งนี้ หากมีสาเหตุจากมะเร็งหรือโรคทางภูมิคุ้มกัน ให้งดบริจาคโลหิตถาวร)

6.5 Hypothyroid สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ารักษาจนระดับฮอร์โมนไทรอยด์กลับสู่ปกติ โดยไม่มีการปรับยา ภายใน 8 สัปดาห์

6.6 โรคลมชัก สามารถบริจาคโลหิตได้ ถ้าหยุดยากันชักโดยไม่มีอาการชัก มาอย่างน้อย 3 ปี และต้องมีใบรับรองจากแพทย์ผู้รักษามายืนยัน

6.7 โรคมะเร็งทุกชนิด งดบริจาคโลหิตถาวร แม้ได้รับการรักษาหายแล้ว

6.8 โรควัณโรค สามารถบริจาคโลหิตได้ ถ้าได้รับการรักษาจนหาย และรับประทานยาครบคอร์ส อย่างน้อย 2 ปี นับจากการรับประทานยาเม็ดสุดท้าย

6.9 โรคหอบหืด สามารถบริจาคโลหิตได้ ถ้าควบคุมอาการได้ด้วยยากิน (ยกเว้นยา steroid) หรือยาพ่นเพื่อควบคุมอาการ (controller) และในวันที่มาบริจาคโลหิตไม่มีอาการหอบหืด  

7.1 ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) หลังรับประทานยามื้อสุดท้ายแล้ว ให้เว้น 7 วัน จึงสามารถบริจาคโลหิตได้

7.2 ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดลดอักเสบ (NSAID) สามารถบริจาคโลหิตได้ แต่ไม่นำเกล็ดเลือดมาใช้ หากต้องการบริจาคเกล็ดเลือดจะต้องหยุดรับประทานยาแล้ว อย่างน้อย 2 วัน จึงจะบริจาคได้

7.3 ยากลุ่มฮอร์โมนเพศ
– ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ให้ทดแทนในหญิงหมดประจำเดือน สามารถบริจาคโลหิตได้
– ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อปรับลักษณะทางเพศเป็นหญิง หากใช้ขนาดสูง หรือใช้เองโดยไม่อยู่ในการดูแลของแพทย์ ต้องงดใช้แล้ว 4 เดือนจึงบริจาคโลหิตได้
– กรณีแปลงเพศโดยตัดอัณฑะแล้ว ใช้เอสโตรเจนขนาดต่ำ และไม่มีความเสี่ยงอื่น สามารถบริจาคโลหิตได้
– ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพื่อปรับลักษณะทางเพศเป็นชาย ต้องงดบริจาคโลหิต เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของผู้รับโลหิต

ควรงดดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 24 ชั่วโมงทั้งก่อนและหลังการบริจาคโลหิต

เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ร่างกายขาดน้ำ อีกทั้งทำให้การฟื้นตัวหลังบริจาคโลหิตช้ากว่าปกติ ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการบริจาคโลหิตได้

สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อาจมีการทำงานของตับบกพร่อง ร่างกายไม่สามารถขจัดแอลกอฮอล์ออกจากโลหิตได้ดีเท่าที่ควร จึงควรงดดื่ม 7 วันก่อนบริจาค

กรณีเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ให้งดบริจาคโลหิตถาวร

          ผู้บริจาคโลหิตกำลังตั้งครรภ์ ต้องงดบริจาคโลหิตชั่วคราว เพราะโลหิตมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งการบริจาคโลหิตระหว่างการตั้งครรภ์อาจทำให้มีภาวะซีด และอาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้ 

          หากอยู่ในระยะให้นมบุตรต้องงดบริจาคโลหิตเช่นเดียวกัน เพราะในโลหิตมีสารอาหารที่จำเป็นในการใช้ผลิตเป็นน้ำนม นอกจากนั้นระหว่างที่อยู่ในระยะให้นมบุตร อาจมีการนอนหลับไม่เพียงพอทำให้อ่อนเพลียได้ หลังจากบุตรหย่านมแล้ว จึงจะบริจาคโลหิตได้

          การคลอดบุตรด้วยวิธีคลอดปกติหรือการผ่าตัดคลอด รวมทั้งการแท้งบุตร เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียโลหิตได้เป็นจำนวนมาก จึงต้องงดบริจาคชั่วคราว เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงให้กลับเป็นปกติก่อน

นิยาม:
– คู่ หมายถึง ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยกันสำหรับทุกเพศสภาพในทุกช่องทาง
– คู่ซ้อน หมายถึง การมีคู่พร้อมกันในปัจจุบันมากกว่า 1 คนขึ้นไป
– พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์* หมายถึง การมีคู่ซ้อน / การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ขายบริการทางเพศ / การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคหรือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถ่ายทอดทางโลหิตได้ / การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เสพยาเสพติด หรือใช้ยาฉีดที่ไม่มีใบสั่งแพทย์
*ทั้งในกรณีที่ใช้และไม่ใช้ถุงยางอนามัยหรือวิธีการป้องกันอื่นใดก็ตาม
ลักษณะพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาให้บริจาคโลหิต งดบริจาคโลหิตชั่วคราว หรืองดบริจาคโลหิตถาวร ดังต่อไปนี้

  1. การมีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด ให้พิจารณาจากพฤติกรรมทางเพศ โดยห้ามงดการบริจาคจากลักษณะบุคคลิกภาพภายนอกเพียงอย่างเดียว (เช่น หากชายมีเพศสภาพเป็นหญิง แต่ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ สามารถให้บริจาคได้ตามปกติ)
  2. มีคู่คนเดียว และ ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ* บริจาคโลหิตได้
  3. เปลี่ยนคู่ใหม่ ให้งดบริจาค 4 เดือน นับจากวันที่เปลี่ยนคู่
  4. มีคู่ซ้อน ให้งดบริจาค 4 เดือน นับจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย (ยกเว้นการมีคู่ซ้อนตามหลักศาสนา หากไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ บริจาคโลหิตได้)
  5. มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ* หรือ มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ให้งดบริจาค 4 เดือน นับจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย

* กรณีมีเพศสัมพันธ์แบบชายกับชาย ให้งดบริจาคโลหิตไปก่อน จนกว่าจะมีผลการวิจัยของประเทศไทยที่สนับสนุนให้บริจาคโลหิตได้ (อยู่ระหว่างดำเนินการวิจัย)
ทั้งนี้ ต้องมีการตรวจคัดกรองโลหิตด้วยวิธีทางอณูชีววิทยา (nucleic acid testing: NAT) เท่านั้น

เนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลเบี่ยงเบนการตรวจ ทำให้ตรวจไม่พบเชื้อในขนาดต่ำ ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงการถ่ายทอดเชื้อผ่านโลหิตบริจาคในช่วง window period เพิ่มขึ้น และทำให้ผู้รับโลหิตให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้
PrEP (pre exposure prophylaxis) เป็นกลุ่มยาที่ผลิตขึ้นมาจากยาต้านไวรัสหลายชนิด นำมาใช้ในการป้องกันการติดเชื้อในคนที่ไม่เคยติดเชื้อ HIV มาก่อน เนื่องจากในชีวิตประจำวันมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV อยู่เป็นประจำ

PEP (post exposure prophylaxis) เป็นการรักษาระยะสั้น (short term treatment) ที่ใช้ทันทีหรือเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ หลังจากได้มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่าง ๆ ต่อการติดเชื้อ HIV เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อดังกล่าว

  • กรณีรับประทานยา PEP/PrEP ให้งด 1 ปี นับจากหยุดยารับประทานยาเม็ดสุดท้าย
  • กรณีฉีดยา PEP/PrEP ให้งด 2 ปี นับจากหยุดยาฉีดยาครั้งล่าสุด

          การอุดฟัน ขูดหินปูน ให้เว้น 3 วัน เนื่องจากอาจมีบาดแผลหรือเกิดการอักเสบ ทำให้มีการติดเชื้อในโลหิตได้โดยไม่มีอาการ เชื้อนี้อาจจะติดต่อไปยังผู้ป่วยที่ได้รับโลหิตได้

          การถอนฟัน การรักษารากฟัน ทำให้เกิดบาดแผลซึ่งอาจมีการติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน จึงควรงดการบริจาคโลหิตประมาณ 7 วัน เพื่อให้แผลหายสนิทก่อน

          ท้องเสีย ท้องร่วง โดยมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ หรืออาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ แต่ไม่มีการติดเชื้อ ให้เว้นอย่างน้อย 7 วัน โดยนับจากวันที่ไม่มีอาการ 

          หากมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ให้เว้นอย่างน้อย 7 วัน โดยนับจากวันที่ไม่มีอาการเช่นกัน แต่ถ้าหากกินยาฆ่าเชื้อให้เว้นอีก 7 วัน หลังจากยาเม็ดสุดท้าย

          สามารถบริจาคโลหิตได้เมื่อกระทำด้วยเทคนิคปลอดเชื้อที่โรงพยาบาล หากทำหัตถการ ณ สถานที่อื่น ๆ ที่มิใช่โรงพยาบาล ให้เว้นอย่างน้อย 4 เดือน เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่สามารถติดต่อได้ทางโลหิตโดยเฉพาะ HIV หรือไวรัสตับอักเสบ B และ C โดยมีเงื่อนไขว่าการตรวจ HCV ในโลหิตบริจาคใช้เทคนิค NAT หากไม่ได้ตรวจ HCV ด้วยเทคนิค NAT ให้เว้น 1 ปี

          ผ่าตัดเล็ก หมายถึง การผ่าตัดที่ใช้ยาชาเฉพาะที่ เสียโลหิตไม่มาก ให้งดการบริจาคโลหิต 7 วัน เพื่อให้บาดแผลหายสนิท ตัวอย่างการผ่าตัดเล็ก เช่น ผ่าตัดฝีเฉพาะจุด

          การผ่าตัดใหญ่ หมายถึง การผ่าตัดที่ต้องดมยาสลบและอาจมีการใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้งดการบริจาคโลหิต 6 เดือน เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงและแผลหายดี ตัวอย่างการผ่าตัดใหญ่ เช่น การผ่าตัดกระดูกสันหลัง รวมทั้งการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง (ทั้งนี้ หากมีการให้โลหิตหรือส่วนประกอบโลหิตร่วมด้วย ควรงดการบริจาคโลหิต 1 ปี) 

          กรณีขูดมดลูกจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์หรือแท้งบุตรให้งด 1 เดือน หากไม่มีการดมยาสลบ แต่ถ้ามีการดมยาสลบในการขูดมดลูกให้งด 6 เดือน

          การได้รับโลหิต / ส่วนประกอบโลหิต จากผู้อื่น ย่อมมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดทางโลหิตได้ แม้ว่ามีโอกาสน้อยมาก จึงให้งดบริจาคโลหิต 1 ปี

          ผู้ที่เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cells) ให้งดบริจาคโลหิตถาวร เนื่องจากผู้ที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะส่วนมากได้รับยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อป้องกันการสลัดอวัยวะที่ปลูกถ่ายไว้ ยาดังกล่าวสามารถทำให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ หรือตายในครรภ์ได้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับโลหิตนี้ได้

          ส่วนการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตนั้นแม้ไม่ต้องกินยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่สาเหตุการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตนั้น เป็นโรคทางโลหิตวิทยา อาจมีปัญหาในการสร้างเม็ดโลหิต จึงให้งดบริจาคโลหิตถาวร

          ยกเว้นปลูกถ่ายกระจกตา งด 1 เดือน

        การถูกเข็มเปื้อนเลือดตำ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากเลือดที่เข็ม จึงให้งดบริจาคโลหิต 1 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าพ้นระยะ window period ของการติดเชื้อชนิดต่าง ๆ

  • โดยทั่วไปการเป็นโรคตับอักเสบก่อนอายุ 11 ปี ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากไวรัสตับอักเสบ เอ เมื่อหายแล้วสามารถบริจาคโลหิตได้
  • แต่หากมีประวัติเป็นตับอักเสบหลังอายุ 11 ปี ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี ให้งดบริจาคโลหิตถาวร เพื่อลดความเสี่ยงจากการถ่ายทอดเชื้อให้ผู้ป่วยที่ได้รับโลหิต เว้นแต่มีใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าตับอักเสบดังกล่าวเกิดจากสาเหตุอื่น

          เนื่องจากการที่มีบุคคลใกล้ชิดเป็นโรคตับอักเสบ ทำให้ท่านมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี ได้เช่นเดียวกัน จึงควรงดการบริจาคโลหิต 1 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้มีเชื้อนี้ ซึ่งสามารถถ่ายทอดไปให้ผู้ป่วยที่ได้รับโลหิตได้

          ผู้ที่เคยตรวจพบว่าเป็นพาหะของโรคตับอักเสบบี ให้งดบริจาคโลหิตถาวร แม้ว่าการตรวจในครั้งนี้จะไม่พบแล้วก็ตาม เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไปยังผู้ป่วยที่ได้รับโลหิต

          ผู้ที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมาลาเรีย ต้องงดบริจาคโลหิตไป 3 ปีหลังจากรักษาหายขาดแล้ว 

           

          ผู้บริจาคโลหิตที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อมาลาเรียชุกชุม และพำนักอยู่ในระยะสั้น ๆ ได้แก่ ไปท่องเที่ยว ให้งดบริจาคโลหิตไป 1 ปี

          เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ปลอดจากเชื้อมาลาเรีย ยังมีการระบาดในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่เป็นป่าเขา มียุงที่เป็นพาหะของเชื้อชุกชุม อีกทั้งยังไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อกรองการติดเชื้อนี้ในโลหิตบริจาค การพิจารณาด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

  • โรคไข้หวัดใหญ่ / โรคไข้เลือดออก ให้งดบริจาคโลหิต 1 เดือนหลังหายดีแล้ว
  • โรคชิคุนกุนยา ให้งดบริจาคโลหิตอย่างน้อย 6 เดือนหลังหาย และไม่มีอาการปวดข้อแล้ว
  • โรคไข้ซิกา ให้งดบริจาคโลหิต 6 เดือน
  • โรค COVID-19 ในกรณีดังต่อไปนี้
    1. กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ไม่แสดงอาการใดๆ งดบริจาคโลหิต อย่างน้อย 7 วัน หลังตรวจพบเชื้อ
    2. กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 งดบริจาคโลหิต 14 วัน นับตั้งแต่หายป่วย และไม่มีอาการใดๆหลงเหลืออยู่
    (หมายเหตุ ข้อมูลอาจมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ของ COVID-19)
  • วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ป้องกันบาดทะยัก หลังฉีดวัคซีน 24 ชม. ไม่มีอาการข้างเคียง และบาดแผลหายดีแล้ว บริจาคโลหิตได้

  • วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี หลังได้รับวัคซีน 21 วัน บริจาคโลหิตได้

  • วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน อีสุกอีใส และงูสวัด หลังได้รับวัคซีน 4 สัปดาห์ ไม่มีอาการข้างเคียง บริจาคโลหิตได้

  • วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ และวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ หลังฉีดวัคซีน 24 ชม. ไม่มีอาการข้างเคียง บริจาคโลหิตได้

  • วัคซีนป้องกัน COVID-19 กรณีได้รับวัคซีน COVID-19 ที่ได้รับการรับรองจาก อย. เว้น 2 วัน หลังฉีด หากมีอาการข้างเคียงขอให้หายดีก่อน เว้น 7 – 14 วัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ

ผู้บริจาคโลหิตต้องงดสารเสพติดและสารควบคุมทุกชนิดก่อนการบริจาคโลหิต

ยาเสพติดชนิดฉีดทุกชนิดให้งดบริจาคโลหิตถาวรแม้ว่าจะเลิกแล้วก็ตาม เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ถ่ายทอดทางโลหิตและตัวยามีผลต่อจิตประสาท อาจมีอาการมึนงงหรือประสาทหลอนได้ อาจมีพฤติกรรมแปรปรวนเป็นอันตรายทั้งต่อตัวเอง ผู้อื่น หรือแม้กระทั่งต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

ยาเสพติดชนิดกิน ต้องเลิกเสพเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีจึงจะบริจาคได้ โดยซักถามให้มั่นใจว่าเลิกยาแล้วและไม่มีการกลับไปกินยาอีก ไม่มีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจ หากไม่มั่นใจให้งดบริจาคโลหิตอย่างไม่มีกำหนด

กรณีมีการใช้สารควบคุมที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่น กัญชา กัญชง กระท่อม ด้วยช่องทางหรือวิธีต่างๆ ซึ่งรวมถึงการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของสารควบคุมดังกล่าว ให้ปฏิบัติดังนี้

– กรณีใช้เป็นประจำ ตั้งแต่ 1 ครั้ง/สัปดาห์ขึ้นไป ต้องงด 7 วัน ก่อนบริจาคโลหิต
– กรณีใช้เป็นครั้งคราว ให้งด 24 ชั่วโมง ก่อนบริจาคโลหิต

ทั้งนี้ ในวันบริจาคโลหิต ต้องไม่มีอาการมึนงง หรืออาการทางจิตประสาทอื่นๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริจาคทั้งในระหว่างบริจาคและหลังบริจาค

อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้และการบริโภคกัญชา ได้แก่ เคลิ้ม ไม่ตื่นตัว มึนงง เซื่องซึม เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว เสียการทรงตัว อาจล้มหมดสติ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้ ซึ่งการบริโภคจะมีฤทธิ์คงอยู่นานกว่าการสูบ

          ผู้ที่เคยถูกควบคุมตัว หรือจองจำในเรือนจำ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV HBV HCV สูงกว่ากลุ่มประชากรอื่น จึงให้งด 1 ปี นับจากวันที่ได้รับการปล่อยตัว

          ต้องงดบริจาคโลหิตจนกว่าจะหาสาเหตุได้ เนื่องจากอาการดังกล่าวเป็นอาการในระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อเอชไอวี (Prodromal symptoms) หรือเป็นอาการของโรคร้ายแรงอื่น ๆ ทั้งนี้หากตรวจพบว่าติดเชื้อ HIV ให้งดบริจาคโลหิตถาวร

          ผู้ที่เคยพำนักอาศัยอยู่ในประเทศสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และไอร์แลนด์ สามารถบริจาคโลหิต ชนิด Whole Blood ได้ แต่หากเคยป่วยหรือมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรค CJD ให้งดบริจาคโลหิตถาวร

replica horloges replica uhren kaufen

คุณได้ลงนามถวายพระพรเรียบร้อยแล้ว.