ไข้ไวรัสซิก้า เป็นอีกหนึ่งโรค ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ผู้บริจาคโลหิตที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสซิก้า จะต้องงดบริจาคโลหิตชั่วคราว ดังนี้
1. ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า งดการบริจาคโลหิต 1 เดือน
2. ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสซิก้าจากการตรวจเลือด หลังจากหายดีแล้ว 4 เดือน จึงจะบริจาคโลหิตได้
3. ผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ภายใน 6 เดือน จะต้องงดการบริจาคโลหิต 4 เดือน
4. ผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ภายใน 6 เดือน ให้งดการบริจาคโลหิต 1 เดือน
5. ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า จะต้องดบริจาคโลหิต เป็นเวลา 1 เดือน
โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ยังไม่มียารักษาได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ การป้องไม่ให้โดนยุงกัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดป้องกันไม่ให้ยุงกัด และทายากันยุง
1. ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า งดการบริจาคโลหิต 1 เดือน
2. ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสซิก้าจากการตรวจเลือด หลังจากหายดีแล้ว 4 เดือน จึงจะบริจาคโลหิตได้
3. ผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ภายใน 6 เดือน จะต้องงดการบริจาคโลหิต 4 เดือน
4. ผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ภายใน 6 เดือน ให้งดการบริจาคโลหิต 1 เดือน
5. ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า จะต้องดบริจาคโลหิต เป็นเวลา 1 เดือน
โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ยังไม่มียารักษาได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ การป้องไม่ให้โดนยุงกัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดป้องกันไม่ให้ยุงกัด และทายากันยุง
จำนวนผู้เข้าชม : 1,009